วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ความพึงพอใจและการให้บริการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง

ความพึงพอใจและการให้บริการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง อำเภอดอกคำใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยาเขต 1 จังหวัดพะเยา

นายอุทัย ไชยวุฒิ
โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยาเขต 1

บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ความต้องการของผู้ใช้บริการและการให้บริการ โดยมุ่งเป้าหมายด้านคุณภาพในการจัดอาหารกลางวันเป็นสำคัญ กล่าวคือ มุ่งให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวัน และได้รับคุณค่าอาหารครบทุกหมู่ ลดปริมาณการขาดสารอาหารในนักเรียนให้ได้ 100% ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการอาหารกลางวัน ซึ่งดำเนินการและสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ โดยนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการดำเนินการของเทศบาลและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการ รวมถึงเป็นแนวทางในการให้บริการแก่ผู้ดำเนินการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากการแบบสอบถาม จำนวน 54 ราย แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) และสุ่มตัวอย่างการบันทึก ควบคุมดูแลการดำเนินการอาหารกลางวันผลวิจัยสรุปได้ว่าอาหารควรปรับปรุงเรื่องความสะอาดมากที่สุด รองลงมาคือได้รับประทานอาหารให้อิ่มพอเพียง ภาชนะมีความสะอาด และการแต่งกายของแม่ครัวควรแต่งกายให้รัดกุมตามร้อยละของคะแนนดังนี้ 100,81.48,75.92 และ72.22ตามลำดับ รายการอาหารกลางวันมีความพอใจปานกลาง ด้านความสะอาดของอาหารมีระดับความไม่พอใจแสดงให้เห็นว่าควรมีการดำเนินการปรับปรุงเรื่องความสะอาด และรสชาติของอาหารตามลำดับ ในด้านความพึงพอใจในด้านผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบการ ในด้านการแต่งกายรัดกุมด้วยผ้ากันเปลื้อนหรือหมวกคลุมผมมีระดับความเห็นปานกลางถึงควรปรับปรุงให้มากขึ้น ในด้านอัธยาศัยไมตรีมีความเห็นปานกลางไปถึงการปรับปรุงให้มีความเอื้ออารีย์เมตตา ในด้านความพึงพอใจในภาชนะมีความพอใจปานกลาง ถึงไม่ค่อยพอใจและสถานที่มีความสะอาดปานกลาง สำหรับโต๊ะม้านั่งมีความเห็นในระดับพอใจ ในด้านการทำกิจกรรมก่อนทานอาหารค่อนข้างเห็นด้วยไปจนถึงระดับปานกลาง

คำสำคัญ : ความพึงพอใจ , การให้บริการ, อาหารกลางวัน

ความสำคัญและที่มาของปัญหา

โครงการอาหารกลางวัน เป็นแนวนโยบายของภาครัฐที่ให้ความสำคัญ และเป็นโครงการหนึ่งที่ช่วยพัฒนาสุขภาพอนามัยให้นักเรียนประถมศึกษามีคุณภาพที่ดี จึงจัดสรรงบประมาณให้กับโรงเรียนโดยผ่านหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นและอีกส่วนหนึ่งของงบประมาณส่วนท้องถิ่นสมทบให้นักเรียนทุกคนได้รับบริการอาหารกลางวันครบ 100 % โดยให้เปิดการประมูลให้กับผู้รับเหมาให้บริการอาหารกลางวันเป็นรายปีงบประมาณ ซึ่งในภาวะปัจจุบันสภาพทางเศรษฐกิจได้อยูในขั้นรุนแรงเนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันในตลาดโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่ส่งผลให้ราคาสินค้ามีผลกระทบ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่น่าสนใจว่าการประกอบการรับเหมาหรือการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการได้ตระหนักถึง การให้บริการ คุณภาพอาหารและความปลอดภัยของผู้บริโภคอาหารกลางวันมากน้อยเพียงใด การดำเนินการของผู้ให้บริการหรือผู้รับเหมาได้ประกอบอาหารให้ถูกสุขลักษณะควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆดังนี้ 1.ผู้ให้บริการ ต้องปฏิบัติตามสุขาวิทยา ส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด เช่น จะต้องมีสุขภาพดี ไม่เป็นพาหะนำโรค แต่งกายสะอาดอยู่เสมอ ขณะปรุงไม่พูดคุย ไอ จาม ทั้งยังต้องดูแลมิให้อาหารเกิดการบูดเสีย หรือสกปรกจากพวกแมลงสัตว์นำโรคและอื่นๆ 2. อุปกรณ์ในการปรุง เช่นมีดเขียงหม้อ ตะหลิว ก่อนนำมาใช้ต้องผ่านการล้างมาอย่างถูกสุขลักษณะ ทั้งจะต้องป้องกันความสกปรกที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน หรือสัตว์นำโรคอีกด้วยอุปกรณ์ทุกชิ้นต้องเก็บไว้ที่สะอาดตลอดเวลา 3.อาหารที่จะปรุง ต้องเลือกอาหารที่ดี สด และสะอาดปลอดภัยผ่านการเก็บที่ถูกต้องปลอดภัย 4. สถานที่ประกอบอาหาร ควรถูกสุขลักษณะ สะอาด เรียบร้อย และมีที่รองรับเศษอาหารหรือขยะ5. อาหารปรุงสุกสำเร็จแล้ว ทั้งอาหารคาวและหวาน ควรเก็บไว้ที่ปกปิด มิดชิดป้องกันฝุ่นละออง และสัตว์แมลงนำโรคเพื่อความปลอดภัย และถูกสุขอนามัย(คู่มืออาหารกลางวัน,2530)โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง จึงได้ดำเนินการศึกษาสำรวจ ตรวจสอบและแบบสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้บริการ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา สร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกัน และอาจนำผลการศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาการให้บริการอาหารกลางวันให้มีคุณภาพ และถูกสุขาวิทยาต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวัน ที่มีคุณค่าและปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
2.เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการและการให้บริการอาหารกลางวัน
3.เพื่อนำผลการศึกษามาปรับปรุงพัฒนาการจัดการและการให้บริการของผู้ประกอบการ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าและปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
2. เพื่อทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการและการให้บริการอาหารกลางวัน
3. ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจมีความเข้าใจตรงกัน

นิยามศัพท์เฉพาะ
ความพึงพอใจ หมายถึง นักเรียนโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุงมีความพึงพอใจในการ ให้บริการของผู้ประกอบการ โดยได้รับบริการอย่างพอเพียง
การให้บริการ หมายถึง ผู้ประกอบได้ดำเนินการและให้บริการอาหารกลางวันในโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง
อาหารกลางวันหมายถึงการดำเนินการโครงการอาหารกลางวันได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ
ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาความพึงพอใจและการให้บริการอาหารกลางวัน ในด้านคุณภาพ ความปลอดภัยของผู้ให้บริการในเขตพื้นที่โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง

วิธีการศึกษา
การศึกษานี้เป็นการศึกษาในรูปการพรรณนาเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลบันทึกประจำวันครูที่รับผิดชอบอาหารกลางวันโดยสุ่มตัวอย่าง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 และแบบสอบถามนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 54 ชุด

กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นอนุบาล และประถมศึกษาในโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง จำนวน 120 คน เลือกแบบเจาะจงโดยเลือกนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4-6จำนวน 54 คนแบบสอบถามทั้งหมด 4 ตอน

วิธีการวิเคราะห์
นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เนื้อหา( Content Analysis ) โดยจำแนกการวิเคราะห์เนื้อหาออกเป็นลักษณะต่างๆ เพื่อนำมาอธิบายภาพรวมของเนื้อหาในรูปแบบพรรณาตามวัตถุประสงค์การศึกษา

ผลการศึกษา
การศึกษาการดำเนินการโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง ได้มีการเก็บข้อมูลด้านรายการอาหารสุ่มตัวอย่างจำนวน 20 วัน และได้มีการส่ง แบบสอบถามจำนวน 54 ชุด ให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ,5และ6 โดยผลการสรุปมีดังนี้ จากการสุ่มตัวอย่างในการดำเนิน การอาหารกลางวัน ในจำนวน 20 วัน พบว่าการดำเนินการอาหารควรปรับปรุงในเรื่องปริมาณสารอาหารที่สำรวจไม่ครบตามหลักโภชนาการที่โครงการอาหารกลางวันให้ได้รับครบหลักโภชนาการ ในด้านการสำรวจแสดงความคิดเห็นตามแบบสอบถามจำนวนดังนี้

ตอนที่1ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1.เพศชาย 55.55% เพศหญิง 44.45%
2.ระดับชั้นที่ตอบแบบสอบถามชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 20.37
3.ระดับชั้นที่ตอบแบบสอบถามชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 38.80
4.ระดับชั้นที่ตอบแบบสอบถามชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 40.74

ตอนที่ 2 สภาพปัจจุบันของการดำเนินการโครงการอาหารกลางวัน
ได้สอบถามเรื่องภาชนะอาหารกลางวันมีความสะอาดร้อยละ 20.37ตอบว่าดีอยู่แล้ว ร้อยละ 75.92 ควรปรับปรุง ด้านอาหารกลางวันที่ใช้รับประทานมีความสะอาดนั้นตอบว่าควรมีการปรับปรุงทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ สำหรับอาหารกลางวันมีคุณค่าทางโภชนาการร้อยละ40.74 ตอบว่าดีอยู่แล้ว ร้อยละ 59.29 ควรปรับปรุง ในด้านอาหารกลางวันได้รับประทานอิ่มเพียงพอนั้น ร้อยละ 18.51 ตอบว่าดีอยู่แล้ว ร้อยละ 81.48 ควรปรับปรุง ในด้านรสชาติอาหารมีความอร่อย ร้อยละ 33.33 ตอบว่าดี ร้อยละ 66.66 ควรดำเนินการปรับปรุง ในด้านรายการอาหารมีการหมุนเวียนหลายอย่าง ร้อยละ 31.48 ตอบว่าดีร้อยละ 68.51 ควรปรับปรุง ในด้านการปรุงอาหารปลอดสารพิษนั้น ร้อยละ 38.88 ตอบว่าดี ร้อยละ 68.51 ตอบว่าควรปรับปรุง ในด้านการต่งกายแม่ครัวแต่งกายของสะอาดรัดกุมร้อยละ 27.77 ตอบว่ารัดกุมดีร้อยละ 72.22 ควรปรับปรุงการแต่งกาย ในด้านการทำความสะอาดสถานที่รับประทานอาหาร ร้อยละ48.18 ตอบว่าดีอยู่แล้ว ร้อยละ 51.85 ตอบว่าควรปรับปรุง ในด้านความสะอาดถ้วยจานสำหรับทานอาหารนั้นร้อยละ 55.55 ดีอยู่แล้ว ร้อยละ 44.44 ควรปรับปรุง สำหรับสถานที่โต๊ะม้านั่งสำหรับทานอาหารร้อยละ 72.22ตอบว่าดีอยู่แล้ว ร้อยละ 27.77ตอบว่าควรปรับปรุง สรุปได้ว่าอาหารควรปรับปรุงเรื่องความสะอาดมากที่สุด รองลงมาคือได้รับประทานอาหารให้อิ่มพอเพียง ภาชนะมีความสะอาด และการแต่งกายของแม่ครัวควรแต่งกายให้รัดกุมตามร้อยละของคะแนนดังนี้ 100,81.48,75.92 และ72.22ตามลำดับ


ตารางที่ 2 ความพึงพอใจในการใช้บริการโครงการอาหารกลางวัน
ระดับความพึงพอใจ
ด้านรายการอาหารและคุณภาพ พอใจมาก พอใจ ปานกลาง ไม่ค่อยพอใจ ไม่พอใจ
1.รายการอาหารกลางวันแต่ละวันมีความพึงพอใจ 18.51 3.70 35.18 22.22 20.37
2.ความสะอาดของอาหารกลางวันปัจจุบันได้ทำดีอยู่แล้ว 3.70 3.70 29.62 38.88 24.07
3.รสชาติอาหารปัจจุบันอร่อย มีความเหมาะสม 9.25 11.11 24.07 29.62 27.77

ตารางที่ 3 ความพึงพอใจในด้านผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบการ
ระดับความพึงพอใจ
ด้านผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบการ พอใจมาก พอใจ ปานกลาง ไม่ค่อยพอใจ ไม่พอใจ
1.การแต่งกายในการปรุงหรือตักอาหาร 3.70 16.66 37.03 24.07 24.07
2.การพูดจาแม่ครัวมีอัธยาศัยไมตรีดี 0.00 7.40 7.40 14.81 70.37


ตารางที่ 4 ความพึงพอใจในภาชนะ/สถานที่
ระดับความพึงพอใจ
ด้านภาชนะ/สถานที่ พอใจมาก พอใจ ปานกลาง ไม่ค่อยพอใจ ไม่พอใจ
1.ภาชนะที่ใส่อาหารเพียงพอและมีความสะอาด 3.70 3.70 46.29 24.07 18.51
2.สถานที่ทานอาหารสะอาด 16.66 20.37 38.88 22.22 7.40
3.โต๊ะม้านั่งในการรัปทานอาหารเพียงพอ 44.44 9.25 27.77 9.25 9.25

ตารางที่ 5 ความพึงพอใจในกิจกรรมการดำเนินการ
ระดับความพึงพอใจ
ด้านกิจกรรม พอใจมาก พอใจ ปานกลาง ไม่ค่อยพอใจ ไม่พอใจ
1.กิจกรรมก่อนทานอาหารมีความเหมาะสม 51.85 12.96 16.66 12.96 5.55

สรุปและอภิปรายผลการศึกษา
จากผลสรุปจะเห็นได้ว่ารายการอาหารกลางวันมีความพอใจปานกลาง ด้านความสะอาดของอาหารมีระดับความไม่พอใจแสดงให้เห็นว่าควรมีการดำเนินการปรับปรุงเรื่องความสะอาด และรสชาติของอาหารตามลำดับ ในด้านความพึงพอใจในด้านผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบการ ในด้านการแต่งกายรัดกุมด้วยผ้ากันเปลื้อนหรือหมวกคลุมผมมีระดับความเห็นปานกลางถึงควรปรับปรุงให้มากขึ้น ในด้านอัธยาศัยไมตรีมีความเห็นปานกลางไปถึงการปรับปรุงให้มีความเอื้ออารีย์เมตตา ในด้านความพึงพอใจในภาชนะมีความพอใจปานกลาง ถึงไม่ค่อยพอใจและสถานที่มีความสะอาดปานกลาง สำหรับโต๊ะม้านั่งมีความเห็นในระดับพอใจ ในด้านการทำกิจกรรมก่อนทานอาหารค่อนข้างเห็นด้วยไปจนถึงระดับปานกลาง


ข้อเสนอแนะ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้ข้อมูลของการบันทึกรายการอาหารกลางวันและการประเมินในช่วงเวลาหนึ่ง และแบบสอบถามจากผู้ใช้บริการในบางส่วน ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในระยะสั้นจึงอาจจะมีข้อจำกัดหลายประการ จึงมีข้อเสนอแนะดังนี้1.ควรมีการศึกษาความพึงพอใจ และความต้องการของผู้ใช้บริการตลอดทั้งปี เพื่อเป็นตัวแทนของการให้บริการ
2.แนวทางในการสร้างความพึงพอใจระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการอาจจะไม่ได้รับการแก้ไขหากไม่มีการตกลงกันหรือข้อหารือร่วมกันกับผู้สนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน
3.ในส่วนของการบริการด้านคุณภาพอาหาร ความสะอาด ความปลอดภัยเป็นหัวใจของการดำเนินการโครงการอาหารกลางวันที่จะปล่อยปะละเลยไม่ได้ ให้มีการกำกับดูแลและเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคอีกทางด้วย


ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1.ควรมีการศึกษาถึงความคุ้มค่าการลงทุนประกอบการ เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจผันผวนเนื่องมาจากปัญหาราคาน้ำมันที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้า

2.ควรมีการสำรวจสอบถามทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและการดำเนินงานในโครงการอาหารกลางวันทั้งผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้บริหารและผู้ประกอบการ และมีการเปรียบเทียบกับสถานประกอบการในสถานศึกษาอื่นต่อไป
เอกสารอ้างอิง
1.ปรีชา รัตนพรสมปอง,2551.การสำรวจความพึงพอใจผู้รับบริการของศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบร็จเสร็จ.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด:วารสารอาหารและยา.กรุงเทพ,
2.สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ.2530.คู่มือบริหารโครงการอาหารกลางวัน.โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.กรุงเทพฯ

3.วารสารคุ้มครองผู้บริโภค.2543. ผงชูรสทานดีไหมเอ่ย.กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข.สำนักงานสาธารณสุขพะเยา.
4.อังคณา ศรีนามวงค์,2551.การศึกษาความรู้ และสภาพปัญหาด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภค.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษธานี:วารสารอาหารและยา.กรุงเทพ,






ไม่มีความคิดเห็น: