วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2551

โครงการชีวิตงามตามธรรม

โครงการชีวิตงามตามธรรม
ปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ประจำปี 2551
ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายอุทัย ไชยวุฒิ ครู คศ.2 โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง
นายสรรชัย ธิวงษา ครู คศ.2 โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง
นางนันนภา เลี้ยวสกุล ครู คศ.3 โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง
โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยาเขต1อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
สนองกลยุทธ์ สพฐ. ข้อที่ 1 เร่งรัดปฏิรูปการศึกษาโดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนัก สำนึกคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย
สนองมาตรฐานการศึกษา ข้อที่ 1 ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์
ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการได้ส่งเสริมให้โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดกระบวนการเรียนการสอน มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้ภายใต้โรงเรียนวิถีพุทธต้นแบบ กลุ่มสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี จึงได้ร่วมกิจกรรมนิทรรศการ ในรายวิชาเลือก ง 30201 ศิลปะประดิษฐ์ เรื่อง การต้องดอก
กิจกรรมและการดำเนินการ
เป็นโครงการที่ให้ความร่วมมือระหว่างบ้าน วัดและโรงเรียน โดยปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้กับเด็กเยาวชน โดยใช้คุณธรรมระบบไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา โดยดำเนินการดังนี้
1. .ทุกวันศีลช่วงเทศกาลเข้าพรรษา ภาคบ่ายเข้ารับฟังเทศนาจากพระสงฆ์ จำนวน 1 เรื่อง
2. ปฏิบัติธรรม และทำสมาธิ
3. สรุปกิจกรรมในหัวข้อคุณธรรม ในเรื่องที่กำหนด คุณธรรมพื้นฐาน 1 เรื่องเป็นนิทานของตัวเอง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ในพระพุทธศาสนามากขึ้น
2. พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี
3. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน
4. โรงเรียนมีนิทานคุณธรรมจากการเขียนของนักเรียน

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ สาระประวัติศาสตร์

ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ สาระประวัติศาสตร์ของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง
อำเภอดอกคำใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยาเขต1

The behavioral study on learning in history of student in
Prathomsuksa 5 Banthamprachabumrung School,
Dokhamtai district, in Phayao Educational Service Area 1

อุทัย ไชยวุฒิ[1]
Uthai Chaiwuth.

บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ สาระประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง อำเภอดอกคำใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 10 จังหวัดพะเยา โดยทำการศึกษาประชากรตัวอย่างเพื่อนำมาศึกษาวิจัยใน ครั้งนี้ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน เพื่อหาข้อมูลและทดสอบเครื่องมือนำมาใช้ในกลุ่มประชากรที่ศึกษา ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไป ความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านดี เก่ง และมีสุข ปัญหาและความต้องการที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้เรียน ตลอดจนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเรียนรู้ สาระประวัติศาสตร์ พบว่าปัญหาและอุปสรรที่มีผลต่อพฤติกรรมนั้นในระดับปานกลางคือเนื้อหาที่อยู่ไกลตัวจากผู้เรียน ในการศึกษาครั้งนี้ควรนำเนื้อหาที่เป็นข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาเชื่อมโยงกับชุมชนหรือท้องถิ่นที่ผู้เรียนได้เห็นและอยู่ใกล้ตัวที่สามารถเชื่อมโยงในท้องถิ่นตนเอง การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและกิจกรรมการเรียนรู้ในวิชาประวัติศาสตร์ควรไปศึกษาจากแหล่งเรียนรู้หรือเกี่ยวข้องกับเนื้อหาประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น
ในระดับความต้องการของผู้เรียนในวิชาประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อความสนใจและชอบแสวงหาความรู้ ที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในประเด็นของวิชาประวัติศาสตร์ควรมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับชุมชนและที่ผู้เรียนอาศัยอยู่ในระดับมากที่สุด และในระดับปานกลางนั้น เนื้อหาที่จัดกิจกรรมควรสอดคล้องกับประวัติท้องถิ่น สื่อการสอนที่หลากหลาย และครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบกันเอง
คำสำคัญ :

ABSTRACT
This research aimed to study learning in history of Prathomsuksa 5 Banthamprachabumrung School, Dokhamtai district, in Phayao Educational Service Area 1. The sample group consisted of 30 people. This sample group was used for data collecting and instrument testing. The research instruments were questionair on expected behavior in learner’s academic performance, morolity, well being, level of problem and needs which affected learner’s behavior as well as opinion and suggestion.
The research found that the learner’s in history and inactive self-learning, problem and obstacles which affected the behavior at a moderate level was being unfamiliar with content. It was found that the historical content which related to local community should be brought to historical learning. The learner should have a chance to paticipate in learning activity. The highest level of learner’s needs was historical learning which was relevant in their local community. The moderate level of learner’s needs was various materials and teacher’s comon style learning plan.

Keywords :


บทนำ

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เปลี่ยนแปลงและมีผลกระทบต่อการดำเนินวิถีชีวิตและพฤติกรรมของมนุษย์ ที่ต้องการความสะดวกสบาย ทำให้การดำเนินวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว แต่จากการประเมินผลการใช้หลักสูตร พบว่าการจัดการเรียนการสอนส่วนใหญ่ยังมีผลต่อความเชื่อทัศนคติของผู้ปกครอง นักเรียนที่ยังขาดความสนใจในประวัติศาสตร์ และการสอนที่ยังเน้นครูเป็นศูนย์กลาง ครูมีบทบาทเป็นผู้นำ ถ่ายทอดความรู้ และควบคุมพฤติกรรมการเรียนการสอนในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ที่มีความเป็นมาในอดีต เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับผู้เรียน ในการจะก้าวไปข้างหน้า เพื่อมองให้เห็นอนาคตของตนเอง ชุมชนหรือสังคมโลกนั้น ต้องศึกษารายละเอียดในอดีต ที่จะก้าวมาสู่ปัจจุบัน ซึ่งมีหลาย ๆ เหตุการณ์ที่เป็นวงจร หมุนเวียนซ้ำ ๆแบบเดิม หรือเมื่อตัดสินใจไปโดยไม่ศึกษาอดีต ไม่เป็นที่สนใจของผู้ปกครองและผู้เรียน ประกอบกับเป็นเรื่องราวที่ผ่านมาในอดีตจึงเป็นเรื่อง ซึ่งทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย ขาดเจตคติที่ดีต่อประวัติศาสตร์ ไม่สามารถนำความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ได้เรียนนำไปบูรณาการความรู้ต่าง ๆ ได้
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ หรือเรื่องราวในอดีตของชุมชน สังคมหรือประวัติศาสตร์ของชาติไทย ผู้เรียนเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ไม่มีการหลีกเลี่ยงพ้น จึงมีพฤติกรรมไม่สนใจและไม่ชอบแสวงหาความรู้ ที่จะเรียนรู้ด้วยตนเอง การสอนและการจัดกิจกรรมจึงเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ มีความตระหนัก และสนใจต้องการค้นหาคำตอบอยู่เสมอ ดังนั้น ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 หมวด 4 ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา ในมาตรา 22 กล่าวว่าการจัดการศึกษาจะต้องมุ่งพัฒนาคนให้เป็นไปตามศักยภาพ เกิดการพัฒนา ที่สมดุลทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยกระบวนการเรียนรู้มุ่งปลูกฝังให้เรียนรู้วิธีแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง และรักที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ในการจัดการศึกษา โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญของการพัฒนา จัดให้มีรูปแบบที่หลากหลายเพื่อสนองความต้องการ ความสามารถและความถนัดของผู้เรียน
ดังนั้นการจัดการศึกษาเพื่อให้สนองต่อผู้เรียนและแก้ไขปัญหาจึงได้ศึกษาพฤติกรรมการ

เรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง อำเภอดอกคำใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยาเขต1 จังหวัดพะเยา เพื่อสอดคล้องกับหลักการ ของการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญของการเรียนรู้ โดยเน้นการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองกล่าวคือการให้ผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนการสอนมากขึ้น กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการอยากรู้อยากเห็นและนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนตามเส้นทางสร้างเด็กไทย สู่ ดี เก่ง มีสุข



วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.เพื่อศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค และพฤติกรรมการแสวงหาความรู้ที่จะเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง
2.เพื่อนำมาแก้ไขปัญหา พฤติกรรม การจัดการเรียนรู้กระบวนการและวิธีการที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงพัฒนาการทางร่างกาย สติปัญญา ความสนใจและความสามารถของผู้เรียน

ขอบเขตของการวิจัย
ขอบเขตเนื้อหา
งานวิจัยในครั้งนี้ ศึกษาพฤติกรรม สาระประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ขอบเขตด้านประชากร
1.ประชากรที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5โรงเรียนบ้านถ้ำ ประชาบำรุง อำเภอดอกคำใต้ เขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1 จำนวน 30 คน
2.กลุ่มที่ใช้ในการทดสอบการวิจัยและเปรียบเทียบในตำบลเดียวกันคือโรงเรียนบ้านถ้ำประชานุเคราะห์ ตำบลบ้านถ้ำ และต่างพื้นที่ โรงเรียนบ้านปิน ตำบลบ้านปิน อำเภอดอกคำใต้

นิยามศัพท์เฉพาะ
พฤติกรรมที่พึงประสงค์ หมายถึง พฤติกรรมที่เหมาะสม เป็นพฤติกรรมที่พึงปรารถนาเป็นที่ต้องการของบุคคลรอบข้าง เหมาะสมกับกาลเทศะ หรือเป็นพฤติกรรมที่ส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าทางการเรียนของตนเอง โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง
พฤติกรรมการเรียนรู้ หมายถึง พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยในชั้นเรียนของกลุ่มสาระสังคม ศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ในวิชาประวัติศาสตร์ในครั้งนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ในสาระประวัติศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง อำเภอดอกคำใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พะเยา เขต 1 ผู้วิจัยได้นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลเสนอในรูปแบบของตารางประกอบคำบรรยาย เรียงเนื้อหาตามลำดับดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบสำรวจรายการ (Check List) และปลายเปิด

ตารางที่ 1 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามอายุ
ลำดับที่
อายุ
จำนวน
ร้อยละ
1.
10
5
16.70
2.
11
22
73.30
3.
12
3
10.00

รวม
30
100
จากตาราง 1 พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ส่วนใหญ่อายุ 11 ปี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 73.30 อายุ 10 ปี จำนวน 5 คน คิดเป็นร้อยละ 16.70 และ อายุ 12 ปี จำนวน 3 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ10.00ตามลำดับ

ตารางที่ 2 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามเพศ
ลำดับที่
จำนวน
ร้อยละ
1.
15
50.00
2.
15
50.00

30
100
จากตาราง 2 พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงและเพศชายจำนวนเท่ากัน คือ จำนวน 15 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 50.00
ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามการอยู่อาศัย
ลำดับที่
การอยู่อาศัย
จำนวน
ร้อยละ
1.
อยู่กับบิดา
2
6.70
2.
อยู่กับมารดา
4
13.30
3.
อยู่กับบิดาและมารดา
15
50.00
4.
อยู่กับญาติหรือบุคคลอื่น
30
30.00
จากตาราง 3 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อาศัยอยู่กับบิดาและมารดา จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 อาศัยอยู่กับญาติและบุคคลอื่น จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 30.00
และอาศัยอยู่กับมารดา จำนวน 4 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 13.30 และน้อยที่สุดคืออาศัยอยู่กับบิดา จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 6.70 ตามลำดับ


ตารางที่ 4 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามสถานะของบิดาและมารดา
ลำดับที่
การอยู่อาศัย
จำนวน
ร้อยละ
1.
อยู่ด้วยกัน
18
60.00
2.
แยกกันอยู่หรือหย่าร้างกัน
10
33.30
3.
บิดาถึงแก่กรรม
1
3.30
4.
บิดา มารดาถึงแก่กรรม
1
3.30

จากตาราง 4 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่บิดา มารดาอยู่ด้วยกัน จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 และ บิดามารดาแยกกันอยู่จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 33.30 และบิดาถึงแก่กรรมจำนวน 1 คน และบิดา มารดาถึงแก่กรรม จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.30 ตามลำดับ

ตารางที่ 5 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามอาชีพของบิดา มารดา
ลำดับที่
การอยู่อาศัย
จำนวน
ร้อยละ
1.
เกษตรกร
6
20.00
2.
ค้าขาย
6
20.00
3.
รับจ้างทั่วไป
15
50.00
4.
ข้าราชการ
1
3.30
5.
อื่นๆ
2
6.70
จากตาราง 5 พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่บิดามารดามีอาชีพค้าขาย จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองลงมาเท่ากัน คือ อาชีพเกษตรกรและอาชีพค้าขาย จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 และอื่น ๆ อีก 2 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 3.30 ตามลำดับ

ตารางที่ 6 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามจำนวนพี่น้อง
ลำดับที่
จำนวนพี่น้อง
จำนวน
ร้อยละ
1.
1
10
33.30
2.
2-3
19
63.30
3.
4 คนขึ้นไป
1
3.30
จากตาราง 6 พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพี่น้อง 2 – 3 คน จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 63.30 รองลงมามีพี่น้อง 1 คน จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 33.30 และ มีพี่น้องตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป จำนวน 1 คน คิดเป็นร้อยละ 3.30 ตามลำดับ

ตารางที่ 7 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามการศึกษาของบิดา
ลำดับที่
วุฒิการศึกษา
จำนวน
ร้อยละ
1.
ต่ำกว่าประถมศึกษา
3
10.00
2.
ประถมศึกษา
15
50.00
3.
มัธยมศึกษา/ปวช.
6
20.00
4.
อนุปริญญา/ ปวส.
1
3.30
5.
ปริญญาตรี
1
3.30
6.
อื่น ๆ
4
13.30

รวม
30
100


จากตาราง 7 พบว่า การศึกษาของบิดาของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถม จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 50.00 รองลงมา คือ ระดับมัธยมศึกษา / ปวช. จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 และระดับต่ำกว่าประถมศึกษา 3 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 10.00 ตามลำดับ

ตารางที่ 8 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามการศึกษาของมารดา
ลำดับที่
วุฒิการศึกษา
จำนวน
ร้อยละ
1.
ต่ำกว่าประถมศึกษา
2
6.70
2.
ประถมศึกษา
18
60.00
3.
มัธยมศึกษา/ปวช.
6
20.00
4.
อนุปริญญา/ ปวส.
1
3.30
5.
ปริญญาตรี
1
3.30
6.
อื่น ๆ
3
10.00

รวม
30
100
จากตาราง 8 พบว่า การศึกษาของมารดาของ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ประถมศึกษา จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 60.00 รองลงมาคือ ระดับมัธยมศึกษา / ปวช. จำนวน 6คน คิดเป็นร้อยละ 20.00 และ ระดับต่ำกว่าประถมศึกษาจำนวน 2 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 6.70 ตามลำดับ

ตารางที่ 9 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามรายได้ของครอบครัว
ลำดับที่
รายได้ของครอบครัว
จำนวน
ร้อยละ
1.
น้อยกว่า 2,000 บาท
13
43.30
2.
2,001 – 5,000 บาท
10
33.30
3.
5,001 - 10,000 บาท
4
13.30
4.
10,001 บาท ขึ้นไป
3
10.00

รวม
30
100
จากตาราง 9 พบว่า รายได้ส่วนใหญ่ของบิดามารดาของกลุ่มตัวอย่างน้อยกว่า 2,000 บาท มีจำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 43.30 รองลงมา
อ 2,001 – 5,000 บาท จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 33.30 และ 5,001 – 10,000 บาท มีจำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 13.30 ตามลำดับ

ตารางที่ 10 จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง จำแนกตามภูมิลำเนาเดิมของนักเรียน
ลำดับที่
ภูมิลำเนาเดิมของนักเรียน
จำนวน
ร้อยละ
1.
อยู่ในพื้นที่เขตบริการของโรงเรียน
23
76.70
2.
อยู่นอกเขตบริการของโรงเรียน
3
10.00
3.
อยู่นอกพื้นที่และต่างหมู่บ้าน
1
3.30
4.
อื่น ๆ
3
10.00

รวม
30
100


จากตาราง 10 พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในพื้นที่เขตบริการของโรงเรียน มีจำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 76.70 รองลงมามีจำนวนเท่ากันคือ อยู่นอกเขตบริการของโรงเรียนและอื่นๆ มีจำนวน 3 คน คิดเป็นร้อยละ 10.00 และ อยู่นอกพื้นที่และต่างหมู่บ้าน มีจำนวน 1 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 3.30

ตอนที่ 2 ความคิดเห็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในระดับช่วงชั้นที่ 2 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ตารางที่ 11 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้านเก่ง
ลำดับที่
ด้านเก่ง
ระดับความคิดเห็น
1.
รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
3.00
.91
ปานกลาง
2.
สอบถามและซักถามครูทุกครั้งเมื่อ
ไม่เข้าใจจนเข้าใจแจ่มแจ้ง
3.03
1.07
ปานกลาง
3.
มีสมาธิการเรียนดีมาก
3.07
.74
ปานกลาง
4.
ตั้งใจเรียนโดยไม่คุยหรือเล่นในห้องเรียน
2.93
.74
น้อย
5.
กระตือรือร้น ขยัน ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน
3.00
.91
ปานกลาง

รวม
3.01
.58
ปานกลาง
จากตาราง 11 พบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้านเก่ง ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นตั้งแต่ 3.00 – 3.07 โดยมีประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยปานกลางเรียงลำดับดังนี้ มีสมาธิการเรียนดีมาก ( =3.07) รองลงมา คือ การสอบถามและซักถามครูทุกครั้งเมื่อไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง( = 3.03) และ การรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และกระตือรือร้น ขยัน ใฝ่รู้ ใฝ่เรียนมีค่าเฉลี่ย

ความคิดเห็นเท่ากัน ( = 3.00 ) และระดับความคิดเห็นน้อย คือประเด็นการตั้งใจเรียน ไม่คุยหรือเล่นในห้องเรียน( = 2.93 )
หากพิจารณาโดยภาพรวม แล้ว ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้านเก่ง มีค่าเท่ากับ 3.01 แปลความได้ว่า นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านเก่ง อยู่ในระดับ ปานกลาง
ตารางที่ 12 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้านดี
ลำดับที่
ด้านดี
ระดับความคิดเห็น
1.
มาโรงเรียน / เข้าเรียนตรงเวลา
4.33
.99
มาก
2.
มีความสนใจบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ
3.10
.76
ปานกลาง
3.
ตั้งใจฟังครูสอนตลอดเวลา
3.17
.65
ปานกลาง
4.
ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ
และสมบูรณ์
3.30
1.08
ปานกลาง
5.
ส่งงานตามกำหนดเวลาทุกครั้งครูไม่ต้องเตือน
3.46
1.16
ปานกลาง

รวม

.67
ปานกลาง
จากตาราง 12 พบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านดี ในระดับมาก คือประเด็น การมาโรงเรียน / เข้าเรียนตรงเวลา ( = 4.33) ส่วนความคิดเห็นระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นตั้งแต่ 3.10 – 3.40 มีประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยปานกลางสูงสุด 3 อันดับคือ การส่งงานตามกำหนดเวลาทุกครั้งครูไม่ต้องเตือน ( = 3.40 ) รองลงมา คือการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จและสมบูรณ์ ( = 3.30 ) และ การตั้งใจฟังครูสอนตลอดเวลา ( = 3.17 )ส่วนค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีความสนใจบทเรียนอย่างสม่ำเสมอ ( = 3.10)
หากพิจารณาโดยรวมแล้ว ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านดี มีค่าเท่ากับ 3.46 แปลความได้ว่า นักเรียนมีความเห็นด้วยเกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านดี อยู่ในระดับ ปานกลาง

ตารางที่ 13 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อ พฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้านสุข
ลำดับที่
ด้านสุข
ระดับความคิดเห็น
1.
ชอบอาสาช่วยเหลืองานของครูและของผู้อื่น
3.03
.99
ปานกลาง
2.
ร่าเริงแจ่มใสเบิกบานอยู่เสมอ ท่าทางมี
ความสุข
3.60
1.24
มาก
3.
พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน และมีหางเสียง
ครับ ค่ะ เสมอ
2.67
.92
น้อย
4.
กล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้องและแสดงออก
ได้อย่างเหมาะสม
3.63
1.09
มาก
5.
มีความรักความสามัคคีต่อกัน
3.27
1.14
ปานกลาง

รวม
3.01
.72

จากตาราง 13 พบว่า ความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้านสุข ในระดับมาก คือ ประเด็นร่าเริงแจ่มใสเบิกบานอยู่เสมอ ท่าทางมีความสุข( =3.60)คือประเด็นกล้าแสดงออกในสิ่งที่ถูกต้องและแสดงออกได้อย่างเหมาะสม ( = 3.63) รองลงมาคือประเด็น ร่าเริงแจ่มใสเบิกบานอยู่เสมอ ท่าทางมีความสุข ( = 3.60) ส่วนความคิดเห็นระดับปานกลาง คือประเด็นมีความรักสามัคคีต่อกัน( =3.27) รองลงมาคือประเด็นการชอบอาสาช่วยเหลืองานของครูและผู้อื่น ( = 3.03) ส่วนระดับความคิดเห็นในระดับ น้อย คือประเด็น พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน และมีหางเสียง ครับ ค่ะ เสมอ ( = 2.67)
หากพิจารณาโดยรวมแล้ว ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้านสุข มีค่าเท่ากับ 3.01 แปลความได้ว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ด้านสุข อยู่ในระดับ ปานกลาง





ตอนที่ 3 วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของผู้เรียนในการเรียน สาระประวัติศาสตร์
ลำดับที่
ประเด็น
ระดับความคิดเห็น
1.
ครูเข้มงวดตลอดเวลา
3.03
.99
ปานกลาง
2.
ครูสอนไม่น่าสนใจ
2.57
1.04
ปานกลาง
3.
วิธีการสอนไม่น่าสนใจและน่าเบื่อ
2.60
1.22
ปานกลาง
4.
เนื้อหาวิชาที่นำมาสอนอยากเกินไป
2.76
1.02
ปานกลาง
5.
เนื้อหาที่ศึกษาอยู่ไกลตัว
3.40
1.07
ปานกลาง
6.
เป็นวิชาที่เข้าใจยาก
2.47
1.01
ปานกลาง
7.
เรียนประวัติศาสตร์ในห้องน่าเบื่อ
2.80
1.16
ปานกลาง
8.
เนื้อหามากเกินไปเรียนไม่ทันเพื่อน
2.20
.93
ปานกลาง
9.
เป็นวิชาที่ไม่มีส่วนร่วม
2.20
.89
น้อย
10.
การวัดผลเน้นความจำตอบไม่ได้
2.80
1.03
ปานกลาง

รวม
2.67
.53
ปานกลาง
จากตาราง 14 พบว่า ระดับปัญหาของผู้เรียนในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.57 - 3.40 โดยมีประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยระดับปานกลางสูงสุด 3 อันดับแรก คือเนื้อหาที่ศึกษาอยู่ไกลตัว( = 3.40) รองลงมา คือ ครูเข้มงวดตลอดเวลา ( = 3.03 ) และ เรียนประวัติศาสตร์ในห้องน่าเบื่อ และการวัดผลเน้นความจำตอบไม่ได้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 2.80) ส่วนระดับปัญหาของผู้เรียน ในระดับ น้อย คือประเด็น เป็นวิชาที่เข้าใจยาก
( = 2.47) และรองลงมาคือประเด็นเนื้อหามากเกินไปเรียนไม่ทันเพื่อน และเป็นวิชาที่ไม่มีส่วนร่วม มีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 2.20 )
หากพิจารณาโดยรวมแล้ว ค่าเฉลี่ยระดับปัญหาของผู้เรียนในวิชาประวัติศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 2.67 แปลความได้ว่า นักเรียนมีระดับปัญหาในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ อยู่ในระดับ ปานกลาง


ตารางที่ 15 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระดับความต้องการของผู้เรียนในวิชาประวัติศาสตร์
ลำดับที่
ประเด็น
ระดับความคิดเห็น
1.
ครูสอนแบบกันเอง
3.00
1.08
ปานกลาง
2.
แบ่งกลุ่มค้นคว้าในใบงาน
2.70
1.29
ปานกลาง
3.
เรียนโดยสื่อการสอนหลากหลาย
3.17
1.02
ปานกลาง
4.
เนื้อหาสอดคล้องกับประวัติท้องถิ่น
3.43
1.36
ปานกลาง
5.
ประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับตนเองและชุมชน
3.57
1.19
มาก
6.
เนื้อหาเข้าใจง่ายและอยากเรียนรู้ต่อไป
3.20
1.24
ปานกลาง
7.
มีการศึกษาสถานที่จริงหรือแหล่งเรียนรู้
2.80
1.13
ปานกลาง
8.
มีเนื้อหาเหมาะสมกับเวลาเรียน
2.80
1.24
ปานกลาง
9.
เรียนแบบแบ่งกลุ่มและค้นคว้าจากชุมชน
2.90
1.32
ปานกลาง
10.
มีการวัดและประเมินผลจากกิจกรรม
2.97
.79
ปานกลาง

รวม
3.05
.79
ปานกลาง
จากตาราง 15 พบว่า ระดับความต้องการของนักเรียนในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ในระดับมาก คือ ประเด็นประวัติศาสตร์เกี่ยวข้องกับตนเองและชุมชน ( = 3.57) ส่วนระดับความต้องการในระดับ ปานกลาง มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.43 - 2.70มีประเด็นที่มีค่าเฉลี่ยในระดับปานกลาง สูงสุด 3 อันดับแรก คือ เนื้อหาสอดคล้องกับประวัติท้องถิ่น ( = 3.43) รองลงมา คือ ประเด็นเรียนโดยสื่อสารการสอนหลากหลาย ( = 3.17)และ ครูสอนแบบกันเอง( = 3.00 )ส่วนค่าเฉลี่ยที่น้อยที่สุด คือประเด็นแบ่งกลุ่มค้นคว้าในใบงาน
( = 2.70 )
หากพิจารณาโดยรวมแล้ว ค่าเฉลี่ยระดับความต้องการของนักเรียนในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ มีค่าเท่ากับ 3.05 แปลความได้ว่า นักเรียนมีระดับความต้องการในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ อยู่ระดับ ปานกลาง

ต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พะเยา เขต นธรรมตอนที่ 4 วิเคราะห์ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเป็นแบบสอบถามแบบปลายเปิด(Open-ended question)
4.1 นักเรียนอยากให้คุณครูสอนในวิชาประวัติศาสตร์แบบไหนบ้าง
นักเรียนกว่าร้อยละ 70 ต้องการให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนอกสถานศึกษาโดยพาไปแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา หรือแหล่งเรียนรู้ภายในชุมชน ร้อยละ 20 ต้องการให้สอนที่เป็นเนื้อหาสนุกไม่ต้องท่องจำ ร้อยละ 10 ต้องการเรียนรู้เรื่องแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่ไม่ค่อยมีใครอธิบายและให้ความรู้
4.2 นักเรียนอยากเรียนอย่างไร ที่ทำให้มีความสนใจ และอยากสืบเสาะหาด้วยตนเอง
นักเรียนร้อยละ 70 อยากเรียนเรื่องที่ครูมอบหมายให้ไปค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ร้อยละ 25 ต้องการรู้เรื่องของตนเองประวัติเครือญาติและที่มาของครอบครัว อื่น ๆ อีก ร้อยละ 5
สรุปผลการศึกษาวิจัยในชั้นเรียน

การศึกษาวิจัยในชั้นเรียน ครั้งนี้สามารถสรุปถึงพฤติกรรมไม่สนใจวิชาประวัติศาสตร์และไม่ชอบแสวงหาความรู้ ที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา ระดับอายุ เพศ ที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับเดียวกันไม่มีความแตกต่างด้านสถานะภาพของครอบครัวร้อยละ 40 มีปัญหาเรื่องครอบครัวที่ผู้เรียนขาดความอบอุ่น การประกอบอาชีพเป็นเกษตรกร ขายของป่าและพืชผักพื้นบ้าน การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ มีรายได้ของครอบครัวต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำของประเทศข้อมูลทั่วไปมีผลต่อการพฤติกรรมไม่สนใจวิชาประวัติศาสตร์และไม่ชอบแสวงหาความรู้ที่จะเรียนรู้ด้วยตนเองในระดับปานกลาง
ด้านพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้เรียนด้านเก่ง ระดับปานกลาง ในด้านดีมีความคิดเห็นว่าการมาเรียนตรงเวลา และส่งงานตามกำหนดมีค่าสูงสุด ในด้านมีสุขให้แสดงออกในสิ่งที่ถูกต้องและมีความร่าเริงแจ่มใสเป็นพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ของผู้ตอบแบบสอบถาม
ด้านที่เป็นระดับปัญหาเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีเนื้อหาที่อยู่ไกลตัว ครูสอนเข้มงวดและเน้นในห้องเรียนเป็นส่วนใหญ่
ด้านระดับความต้องการของผู้เรียนพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามในการเรียนสาระประวัติศาสตร์ควรเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัวโดยประเด็นเกี่ยวข้องกับตนเองและชุมชน นอกเหนือจากนั้นก็มีเนื้อหาประวัติสอดคล้องกับประวัติท้องถิ่น มีการสอนที่หลากหลาย โดยครูสอนแบบกันเอง กระบวนการเรียนการสอนแบบบูรณาการจึงเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้อีกรูปแบบหนึ่ง ที่แก้ไขปัญหาของการจัดการเรียนการสอน

กิตติกรรมประกาศ
การศึกษาวิจัยฉบับนี้ สำเร็จลงได้ด้วยความกรุณาอย่างยิ่งจากความช่วยเหลือของบุคคลหลายท่าน ขอกราบขอบพระคุณทุกท่าน ที่ให้คำแนะนำ ตลอดจนชี้แนวทางในการดำเนินการศึกษาวิจัยในชั้นเรียน ตั้งแต่เริ่มต้นจนแล้วเสร็จสมบูรณ์ขอขอบพระคุณ ท่านศึกษานิเทศก์ นพคุณ จันต๊ะวงค์ ศึกษานิเทศก์ ชำนาญการพิเศษ ขอขอบคุณคุณครู สุพรรณ สุริยะ ครูชำนาญการพิเศษ สาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ขอขอบคุณคุณครูพงษ์มิตร หวานเสียง ครูชำนาญการพิเศษ ด้านคณิตศาสตร์ ขอขอบคุณคุณครูนันนภา เลี้ยวสกุล ครู ชำนาญการพิเศษ สาระวิทยาศาสตร์ และขอขอบพระคุณคุณครูอำนวยศิลป์ จันต๊ะ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง ที่ช่วยแนะนำ และให้กำลังใจในการทำผลงานครั้งนี้


เอกสารอ้างอิง
1.กาญจนา วัฒายุ.การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา: กรุงเทพมหานคร.ธนาพรการพิมพ์.(2548)
2.กรมวิชาการ. พระราชบัญญัติการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544.กรุงเทพ :กระทรวงศึกษาธิการ. (2545 ).
3.กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. การพัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์สำหรับประชาชนไทย อายุ 12-60 ปี. .นนทบุรี: วงศ์กมล,( 2544 )
4.วริษา แสนเพชร. สภาพการวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอลี้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 2.การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.(2548).
5.ทัศนีย์ สิทธิวงศ์.การพัฒนาการเรียนการสอนโดยการวิจัยในชั้นเรียน กรณีศึกษา โรงเรียนบ้านแท่นวิทยา อำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ. กลุ่มวิจัยและพัฒนา สำนักพัฒนา
การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เขตการศึกษา 11 (2543).
6.ปฐมทัศน์ อวดอ้าว.พฤติกรรมที่พึงประสงค์ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 จากมุมมองของนักเรียน ผู้ปกครอง และครู.การศึกษาค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.( 2549).
7.พัชนี จันทร์ศิริ. พฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน
ช่วงชั้นที่ 3 ในสาระประวัติศาสตร์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.การศึกษาค้นคว้าแบบอิสระ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่(2548).
8.สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 1
กรุงเทพ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.(2547).
9.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.รวมกฎหมาย กฎ ระเบียบ การบริหารงานบุคคลด้านกฎหมาย ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา.กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.(2549).

[1] ครู โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต 1 อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา
Teacher, BanThamphachabamrung School,Amphur Dokkhamtai, Phayao 56120

ความพึงพอใจและการให้บริการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง

ความพึงพอใจและการให้บริการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง อำเภอดอกคำใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยาเขต 1 จังหวัดพะเยา

นายอุทัย ไชยวุฒิ
โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยาเขต 1

บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ความต้องการของผู้ใช้บริการและการให้บริการ โดยมุ่งเป้าหมายด้านคุณภาพในการจัดอาหารกลางวันเป็นสำคัญ กล่าวคือ มุ่งให้นักเรียนทุกคนได้รับประทานอาหารกลางวัน และได้รับคุณค่าอาหารครบทุกหมู่ ลดปริมาณการขาดสารอาหารในนักเรียนให้ได้ 100% ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการอาหารกลางวัน ซึ่งดำเนินการและสนับสนุนงบประมาณจากเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ โดยนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางในการดำเนินการของเทศบาลและสร้างความพึงพอใจให้กับผู้ใช้บริการ รวมถึงเป็นแนวทางในการให้บริการแก่ผู้ดำเนินการอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาได้มาจากการแบบสอบถาม จำนวน 54 ราย แล้วนำมาวิเคราะห์เนื้อหา(Content Analysis) และสุ่มตัวอย่างการบันทึก ควบคุมดูแลการดำเนินการอาหารกลางวันผลวิจัยสรุปได้ว่าอาหารควรปรับปรุงเรื่องความสะอาดมากที่สุด รองลงมาคือได้รับประทานอาหารให้อิ่มพอเพียง ภาชนะมีความสะอาด และการแต่งกายของแม่ครัวควรแต่งกายให้รัดกุมตามร้อยละของคะแนนดังนี้ 100,81.48,75.92 และ72.22ตามลำดับ รายการอาหารกลางวันมีความพอใจปานกลาง ด้านความสะอาดของอาหารมีระดับความไม่พอใจแสดงให้เห็นว่าควรมีการดำเนินการปรับปรุงเรื่องความสะอาด และรสชาติของอาหารตามลำดับ ในด้านความพึงพอใจในด้านผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบการ ในด้านการแต่งกายรัดกุมด้วยผ้ากันเปลื้อนหรือหมวกคลุมผมมีระดับความเห็นปานกลางถึงควรปรับปรุงให้มากขึ้น ในด้านอัธยาศัยไมตรีมีความเห็นปานกลางไปถึงการปรับปรุงให้มีความเอื้ออารีย์เมตตา ในด้านความพึงพอใจในภาชนะมีความพอใจปานกลาง ถึงไม่ค่อยพอใจและสถานที่มีความสะอาดปานกลาง สำหรับโต๊ะม้านั่งมีความเห็นในระดับพอใจ ในด้านการทำกิจกรรมก่อนทานอาหารค่อนข้างเห็นด้วยไปจนถึงระดับปานกลาง

คำสำคัญ : ความพึงพอใจ , การให้บริการ, อาหารกลางวัน

ความสำคัญและที่มาของปัญหา

โครงการอาหารกลางวัน เป็นแนวนโยบายของภาครัฐที่ให้ความสำคัญ และเป็นโครงการหนึ่งที่ช่วยพัฒนาสุขภาพอนามัยให้นักเรียนประถมศึกษามีคุณภาพที่ดี จึงจัดสรรงบประมาณให้กับโรงเรียนโดยผ่านหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นและอีกส่วนหนึ่งของงบประมาณส่วนท้องถิ่นสมทบให้นักเรียนทุกคนได้รับบริการอาหารกลางวันครบ 100 % โดยให้เปิดการประมูลให้กับผู้รับเหมาให้บริการอาหารกลางวันเป็นรายปีงบประมาณ ซึ่งในภาวะปัจจุบันสภาพทางเศรษฐกิจได้อยูในขั้นรุนแรงเนื่องจาก การเปลี่ยนแปลงราคาน้ำมันในตลาดโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วที่ส่งผลให้ราคาสินค้ามีผลกระทบ ด้วยเหตุนี้จึงเป็นที่น่าสนใจว่าการประกอบการรับเหมาหรือการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการได้ตระหนักถึง การให้บริการ คุณภาพอาหารและความปลอดภัยของผู้บริโภคอาหารกลางวันมากน้อยเพียงใด การดำเนินการของผู้ให้บริการหรือผู้รับเหมาได้ประกอบอาหารให้ถูกสุขลักษณะควรคำนึงถึงสิ่งต่างๆดังนี้ 1.ผู้ให้บริการ ต้องปฏิบัติตามสุขาวิทยา ส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด เช่น จะต้องมีสุขภาพดี ไม่เป็นพาหะนำโรค แต่งกายสะอาดอยู่เสมอ ขณะปรุงไม่พูดคุย ไอ จาม ทั้งยังต้องดูแลมิให้อาหารเกิดการบูดเสีย หรือสกปรกจากพวกแมลงสัตว์นำโรคและอื่นๆ 2. อุปกรณ์ในการปรุง เช่นมีดเขียงหม้อ ตะหลิว ก่อนนำมาใช้ต้องผ่านการล้างมาอย่างถูกสุขลักษณะ ทั้งจะต้องป้องกันความสกปรกที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติงาน หรือสัตว์นำโรคอีกด้วยอุปกรณ์ทุกชิ้นต้องเก็บไว้ที่สะอาดตลอดเวลา 3.อาหารที่จะปรุง ต้องเลือกอาหารที่ดี สด และสะอาดปลอดภัยผ่านการเก็บที่ถูกต้องปลอดภัย 4. สถานที่ประกอบอาหาร ควรถูกสุขลักษณะ สะอาด เรียบร้อย และมีที่รองรับเศษอาหารหรือขยะ5. อาหารปรุงสุกสำเร็จแล้ว ทั้งอาหารคาวและหวาน ควรเก็บไว้ที่ปกปิด มิดชิดป้องกันฝุ่นละออง และสัตว์แมลงนำโรคเพื่อความปลอดภัย และถูกสุขอนามัย(คู่มืออาหารกลางวัน,2530)โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง จึงได้ดำเนินการศึกษาสำรวจ ตรวจสอบและแบบสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้บริการ เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหา สร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกัน และอาจนำผลการศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาการให้บริการอาหารกลางวันให้มีคุณภาพ และถูกสุขาวิทยาต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวัน ที่มีคุณค่าและปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
2.เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการและการให้บริการอาหารกลางวัน
3.เพื่อนำผลการศึกษามาปรับปรุงพัฒนาการจัดการและการให้บริการของผู้ประกอบการ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณค่าและปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย
2. เพื่อทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการและการให้บริการอาหารกลางวัน
3. ผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจมีความเข้าใจตรงกัน

นิยามศัพท์เฉพาะ
ความพึงพอใจ หมายถึง นักเรียนโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุงมีความพึงพอใจในการ ให้บริการของผู้ประกอบการ โดยได้รับบริการอย่างพอเพียง
การให้บริการ หมายถึง ผู้ประกอบได้ดำเนินการและให้บริการอาหารกลางวันในโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง
อาหารกลางวันหมายถึงการดำเนินการโครงการอาหารกลางวันได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลตำบลบ้านถ้ำ
ขอบเขตการศึกษา
ศึกษาความพึงพอใจและการให้บริการอาหารกลางวัน ในด้านคุณภาพ ความปลอดภัยของผู้ให้บริการในเขตพื้นที่โรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง

วิธีการศึกษา
การศึกษานี้เป็นการศึกษาในรูปการพรรณนาเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อมูลบันทึกประจำวันครูที่รับผิดชอบอาหารกลางวันโดยสุ่มตัวอย่าง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 และแบบสอบถามนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 54 ชุด

กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนชั้นอนุบาล และประถมศึกษาในโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง จำนวน 120 คน เลือกแบบเจาะจงโดยเลือกนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่4-6จำนวน 54 คนแบบสอบถามทั้งหมด 4 ตอน

วิธีการวิเคราะห์
นำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เนื้อหา( Content Analysis ) โดยจำแนกการวิเคราะห์เนื้อหาออกเป็นลักษณะต่างๆ เพื่อนำมาอธิบายภาพรวมของเนื้อหาในรูปแบบพรรณาตามวัตถุประสงค์การศึกษา

ผลการศึกษา
การศึกษาการดำเนินการโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนบ้านถ้ำประชาบำรุง ได้มีการเก็บข้อมูลด้านรายการอาหารสุ่มตัวอย่างจำนวน 20 วัน และได้มีการส่ง แบบสอบถามจำนวน 54 ชุด ให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ,5และ6 โดยผลการสรุปมีดังนี้ จากการสุ่มตัวอย่างในการดำเนิน การอาหารกลางวัน ในจำนวน 20 วัน พบว่าการดำเนินการอาหารควรปรับปรุงในเรื่องปริมาณสารอาหารที่สำรวจไม่ครบตามหลักโภชนาการที่โครงการอาหารกลางวันให้ได้รับครบหลักโภชนาการ ในด้านการสำรวจแสดงความคิดเห็นตามแบบสอบถามจำนวนดังนี้

ตอนที่1ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
1.เพศชาย 55.55% เพศหญิง 44.45%
2.ระดับชั้นที่ตอบแบบสอบถามชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ร้อยละ 20.37
3.ระดับชั้นที่ตอบแบบสอบถามชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ร้อยละ 38.80
4.ระดับชั้นที่ตอบแบบสอบถามชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ร้อยละ 40.74

ตอนที่ 2 สภาพปัจจุบันของการดำเนินการโครงการอาหารกลางวัน
ได้สอบถามเรื่องภาชนะอาหารกลางวันมีความสะอาดร้อยละ 20.37ตอบว่าดีอยู่แล้ว ร้อยละ 75.92 ควรปรับปรุง ด้านอาหารกลางวันที่ใช้รับประทานมีความสะอาดนั้นตอบว่าควรมีการปรับปรุงทั้งหมดร้อยเปอร์เซ็นต์ สำหรับอาหารกลางวันมีคุณค่าทางโภชนาการร้อยละ40.74 ตอบว่าดีอยู่แล้ว ร้อยละ 59.29 ควรปรับปรุง ในด้านอาหารกลางวันได้รับประทานอิ่มเพียงพอนั้น ร้อยละ 18.51 ตอบว่าดีอยู่แล้ว ร้อยละ 81.48 ควรปรับปรุง ในด้านรสชาติอาหารมีความอร่อย ร้อยละ 33.33 ตอบว่าดี ร้อยละ 66.66 ควรดำเนินการปรับปรุง ในด้านรายการอาหารมีการหมุนเวียนหลายอย่าง ร้อยละ 31.48 ตอบว่าดีร้อยละ 68.51 ควรปรับปรุง ในด้านการปรุงอาหารปลอดสารพิษนั้น ร้อยละ 38.88 ตอบว่าดี ร้อยละ 68.51 ตอบว่าควรปรับปรุง ในด้านการต่งกายแม่ครัวแต่งกายของสะอาดรัดกุมร้อยละ 27.77 ตอบว่ารัดกุมดีร้อยละ 72.22 ควรปรับปรุงการแต่งกาย ในด้านการทำความสะอาดสถานที่รับประทานอาหาร ร้อยละ48.18 ตอบว่าดีอยู่แล้ว ร้อยละ 51.85 ตอบว่าควรปรับปรุง ในด้านความสะอาดถ้วยจานสำหรับทานอาหารนั้นร้อยละ 55.55 ดีอยู่แล้ว ร้อยละ 44.44 ควรปรับปรุง สำหรับสถานที่โต๊ะม้านั่งสำหรับทานอาหารร้อยละ 72.22ตอบว่าดีอยู่แล้ว ร้อยละ 27.77ตอบว่าควรปรับปรุง สรุปได้ว่าอาหารควรปรับปรุงเรื่องความสะอาดมากที่สุด รองลงมาคือได้รับประทานอาหารให้อิ่มพอเพียง ภาชนะมีความสะอาด และการแต่งกายของแม่ครัวควรแต่งกายให้รัดกุมตามร้อยละของคะแนนดังนี้ 100,81.48,75.92 และ72.22ตามลำดับ


ตารางที่ 2 ความพึงพอใจในการใช้บริการโครงการอาหารกลางวัน
ระดับความพึงพอใจ
ด้านรายการอาหารและคุณภาพ พอใจมาก พอใจ ปานกลาง ไม่ค่อยพอใจ ไม่พอใจ
1.รายการอาหารกลางวันแต่ละวันมีความพึงพอใจ 18.51 3.70 35.18 22.22 20.37
2.ความสะอาดของอาหารกลางวันปัจจุบันได้ทำดีอยู่แล้ว 3.70 3.70 29.62 38.88 24.07
3.รสชาติอาหารปัจจุบันอร่อย มีความเหมาะสม 9.25 11.11 24.07 29.62 27.77

ตารางที่ 3 ความพึงพอใจในด้านผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบการ
ระดับความพึงพอใจ
ด้านผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบการ พอใจมาก พอใจ ปานกลาง ไม่ค่อยพอใจ ไม่พอใจ
1.การแต่งกายในการปรุงหรือตักอาหาร 3.70 16.66 37.03 24.07 24.07
2.การพูดจาแม่ครัวมีอัธยาศัยไมตรีดี 0.00 7.40 7.40 14.81 70.37


ตารางที่ 4 ความพึงพอใจในภาชนะ/สถานที่
ระดับความพึงพอใจ
ด้านภาชนะ/สถานที่ พอใจมาก พอใจ ปานกลาง ไม่ค่อยพอใจ ไม่พอใจ
1.ภาชนะที่ใส่อาหารเพียงพอและมีความสะอาด 3.70 3.70 46.29 24.07 18.51
2.สถานที่ทานอาหารสะอาด 16.66 20.37 38.88 22.22 7.40
3.โต๊ะม้านั่งในการรัปทานอาหารเพียงพอ 44.44 9.25 27.77 9.25 9.25

ตารางที่ 5 ความพึงพอใจในกิจกรรมการดำเนินการ
ระดับความพึงพอใจ
ด้านกิจกรรม พอใจมาก พอใจ ปานกลาง ไม่ค่อยพอใจ ไม่พอใจ
1.กิจกรรมก่อนทานอาหารมีความเหมาะสม 51.85 12.96 16.66 12.96 5.55

สรุปและอภิปรายผลการศึกษา
จากผลสรุปจะเห็นได้ว่ารายการอาหารกลางวันมีความพอใจปานกลาง ด้านความสะอาดของอาหารมีระดับความไม่พอใจแสดงให้เห็นว่าควรมีการดำเนินการปรับปรุงเรื่องความสะอาด และรสชาติของอาหารตามลำดับ ในด้านความพึงพอใจในด้านผู้ให้บริการ/ผู้ประกอบการ ในด้านการแต่งกายรัดกุมด้วยผ้ากันเปลื้อนหรือหมวกคลุมผมมีระดับความเห็นปานกลางถึงควรปรับปรุงให้มากขึ้น ในด้านอัธยาศัยไมตรีมีความเห็นปานกลางไปถึงการปรับปรุงให้มีความเอื้ออารีย์เมตตา ในด้านความพึงพอใจในภาชนะมีความพอใจปานกลาง ถึงไม่ค่อยพอใจและสถานที่มีความสะอาดปานกลาง สำหรับโต๊ะม้านั่งมีความเห็นในระดับพอใจ ในด้านการทำกิจกรรมก่อนทานอาหารค่อนข้างเห็นด้วยไปจนถึงระดับปานกลาง


ข้อเสนอแนะ
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยใช้ข้อมูลของการบันทึกรายการอาหารกลางวันและการประเมินในช่วงเวลาหนึ่ง และแบบสอบถามจากผู้ใช้บริการในบางส่วน ซึ่งเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลในระยะสั้นจึงอาจจะมีข้อจำกัดหลายประการ จึงมีข้อเสนอแนะดังนี้1.ควรมีการศึกษาความพึงพอใจ และความต้องการของผู้ใช้บริการตลอดทั้งปี เพื่อเป็นตัวแทนของการให้บริการ
2.แนวทางในการสร้างความพึงพอใจระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการอาจจะไม่ได้รับการแก้ไขหากไม่มีการตกลงกันหรือข้อหารือร่วมกันกับผู้สนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน
3.ในส่วนของการบริการด้านคุณภาพอาหาร ความสะอาด ความปลอดภัยเป็นหัวใจของการดำเนินการโครงการอาหารกลางวันที่จะปล่อยปะละเลยไม่ได้ ให้มีการกำกับดูแลและเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคอีกทางด้วย


ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
1.ควรมีการศึกษาถึงความคุ้มค่าการลงทุนประกอบการ เนื่องจากภาวะทางเศรษฐกิจผันผวนเนื่องมาจากปัญหาราคาน้ำมันที่มีผลกระทบต่อราคาสินค้า

2.ควรมีการสำรวจสอบถามทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและการดำเนินงานในโครงการอาหารกลางวันทั้งผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้บริหารและผู้ประกอบการ และมีการเปรียบเทียบกับสถานประกอบการในสถานศึกษาอื่นต่อไป
เอกสารอ้างอิง
1.ปรีชา รัตนพรสมปอง,2551.การสำรวจความพึงพอใจผู้รับบริการของศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบร็จเสร็จ.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตราด:วารสารอาหารและยา.กรุงเทพ,
2.สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ.2530.คู่มือบริหารโครงการอาหารกลางวัน.โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.กรุงเทพฯ

3.วารสารคุ้มครองผู้บริโภค.2543. ผงชูรสทานดีไหมเอ่ย.กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคและเภสัชสาธารณสุข.สำนักงานสาธารณสุขพะเยา.
4.อังคณา ศรีนามวงค์,2551.การศึกษาความรู้ และสภาพปัญหาด้านความปลอดภัยต่อผู้บริโภค.สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษธานี:วารสารอาหารและยา.กรุงเทพ,